จัดตั้งขึ้นเพื่ออะไร
สำหรับ "อา เซียน +6" หรือ FTA ASEAN PLUS 6 ก็คือ การรวมกลุ่มกันของ 16 ประเทศ ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม, พม่า, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, ลาว, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม รวมกับประเทศที่อยู่นอกอาเซียนอีก 6 ประเทศ คือ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และอินเดีย ซึ่งหากนับจำนวนประชากรในกลุ่มนี้แล้ว จะพบว่า อาเซียน +6 มีประชากรรวมกันกว่า 3 พันล้านคน หรือคิดเป็น 50% ของประชากรโลกเลยทีเดียว
หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมอาเซียนต้องรวมกลุ่มกับอีก 6 ประเทศนอกอาเซียนด้วย คำตอบก็คือ การ รวมกลุ่มอาเซียน +6 นี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มในการลงทุน การทำการค้า ฯลฯ ให้มีศักยภาพสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ เช่น สหภาพยุโรป นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมทำข้อตกลงการเปิดการค้าเสรี ด้วยการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้น พร้อมกับผนวกกำลังของแต่ละกลุ่มการค้าเข้าด้วยกัน เพื่อให้กลุ่มประเทศอาเซียนสามารถดำเนินเศรษฐกิจได้อย่างมั่นคงยิ่งขึ้น
หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมอาเซียนต้องรวมกลุ่มกับอีก 6 ประเทศนอกอาเซียนด้วย คำตอบก็คือ การ รวมกลุ่มอาเซียน +6 นี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มในการลงทุน การทำการค้า ฯลฯ ให้มีศักยภาพสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ เช่น สหภาพยุโรป นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมทำข้อตกลงการเปิดการค้าเสรี ด้วยการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้น พร้อมกับผนวกกำลังของแต่ละกลุ่มการค้าเข้าด้วยกัน เพื่อให้กลุ่มประเทศอาเซียนสามารถดำเนินเศรษฐกิจได้อย่างมั่นคงยิ่งขึ้น
ความเป็นมาของอาเซียน +6
ที่ มาของแนวคิด "อาเซียน +6" นี้ เริ่มขึ้นครั้งแรกในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AEM-METI) และ AEM+3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 โดยญี่ปุ่นเสนอให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญภาควิชาการ (Track II) ของกลุ่มประเทศ East Asia Summit (EAS ประกอบด้วยอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง Comprehensive Economic Partnership in East Asia (CEPEA) ซึ่งเป็น FTA ระหว่างประเทศอาเซียน+6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์)
จากนั้น ในการประชุม East Asia Summit ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2550 ณ เมืองเชบู ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ ประชุมก็มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการศึกษาเรื่องดังกล่าว โดยประเทศญี่ปุ่นได้จัดประชุมร่วมกันระหว่างนักวิชาการซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ ละประเทศครั้งแรกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอา เซียน+6 (CEPEA)
ทั้งนี้ กลุ่มนักวิชาการได้ประชุมร่วมกันทั้งหมด 6 ครั้ง ระหว่างปี พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2551 ก่อนจะได้ผลสรุปว่า หากมีการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) จะทำให้เกิดความสะดวกในด้านการค้าและการลงทุน ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ พลังงาน สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศ
เมื่อได้ข้อสรุปดังนี้ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจึงมีมติให้ศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการจัดทำความตกลง การค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) ในระยะที่ 2 โดยเน้นเรื่องความร่วมมือ (Cooperation), การอำนวยความสะดวก (Facilitation) และการเปิดเสรี (Liberalization)ที่จะช่วยสร้างความสามารถของประเทศสมาชิก เพื่อรองรับการเปิดเสรีภายใต้อาเซียน+6 (CEPEA)
ทั้งนี้ ในการประชุมเมื่อวันที่ 13-16 สิงหาคม พ.ศ. 2552 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญก็ได้ข้อสรุปว่า การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศ อาเซียน+6 (CEPEA) ควรให้ความสำคัญเรื่องความร่วมมือเป็นอันดับแรก พร้อมกับเน้นพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ในแต่ละประเทศ รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Transfer of Technology) และสร้างความเข้มแข็งให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมทั้งควรพิจารณาจัดตั้งกองทุนเอเชียตะวันออก เพื่อช่วยรองรับโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น และสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนาต่อไป
จากนั้น ในการประชุม East Asia Summit ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2550 ณ เมืองเชบู ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ ประชุมก็มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการศึกษาเรื่องดังกล่าว โดยประเทศญี่ปุ่นได้จัดประชุมร่วมกันระหว่างนักวิชาการซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ ละประเทศครั้งแรกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอา เซียน+6 (CEPEA)
ทั้งนี้ กลุ่มนักวิชาการได้ประชุมร่วมกันทั้งหมด 6 ครั้ง ระหว่างปี พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2551 ก่อนจะได้ผลสรุปว่า หากมีการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) จะทำให้เกิดความสะดวกในด้านการค้าและการลงทุน ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ พลังงาน สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศ
เมื่อได้ข้อสรุปดังนี้ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจึงมีมติให้ศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการจัดทำความตกลง การค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) ในระยะที่ 2 โดยเน้นเรื่องความร่วมมือ (Cooperation), การอำนวยความสะดวก (Facilitation) และการเปิดเสรี (Liberalization)ที่จะช่วยสร้างความสามารถของประเทศสมาชิก เพื่อรองรับการเปิดเสรีภายใต้อาเซียน+6 (CEPEA)
ทั้งนี้ ในการประชุมเมื่อวันที่ 13-16 สิงหาคม พ.ศ. 2552 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญก็ได้ข้อสรุปว่า การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศ อาเซียน+6 (CEPEA) ควรให้ความสำคัญเรื่องความร่วมมือเป็นอันดับแรก พร้อมกับเน้นพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ในแต่ละประเทศ รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Transfer of Technology) และสร้างความเข้มแข็งให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมทั้งควรพิจารณาจัดตั้งกองทุนเอเชียตะวันออก เพื่อช่วยรองรับโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น และสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนาต่อไป
ประโยชน์ของอาเซียน +6
จากรายงาน การศึกษาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เมื่อปี พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2552 พบว่า การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศเอเชียตะวันออกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.11% หรือหากวัดเฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ จะเพิ่มขึ้น 3.83% และเมื่อดูเฉพาะของประเทศไทยแล้วจะพบว่า ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจะเพิ่มขึ้นถึง 4.78% เลยทีเดียว ในขณะที่ประเทศ+6 มีค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เพิ่มขึ้น 2.6%
นอกจากนี้ อาเซียน +6 จะช่วยปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศสมาชิก ดังนี้
1.ขยายอุปสงค์ภายในภูมิภาค (Domestic demand within the region)
2.เพิ่มประสิทธิผลทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเน้นความชำนาญในการผลิตสินค้าของแต่ละประเทศ (Product specialization)
3.พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีการเชื่อมโยงกันระหว่างประเทศสมาชิก โดยเฉพาะเรื่อง Logistics ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้จะนำไปสู่การลดช่องว่างของระดับการพัฒนาในแต่ละประเทศ สมาชิก รวมถึงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่แน่นเฟ้นยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ อาเซียน +6 จะช่วยปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศสมาชิก ดังนี้
1.ขยายอุปสงค์ภายในภูมิภาค (Domestic demand within the region)
2.เพิ่มประสิทธิผลทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเน้นความชำนาญในการผลิตสินค้าของแต่ละประเทศ (Product specialization)
3.พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีการเชื่อมโยงกันระหว่างประเทศสมาชิก โดยเฉพาะเรื่อง Logistics ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้จะนำไปสู่การลดช่องว่างของระดับการพัฒนาในแต่ละประเทศ สมาชิก รวมถึงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่แน่นเฟ้นยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น