อาเซียน +3 (อาเซียน บวกสาม)
กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 (ASEAN+3) เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศนอกกลุ่ม 3 ประเทศ คือ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งชุมชนเอเชียตะวันออก (East Asian Community) โดยให้อาเซียนและกระบวนการต่างๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของการจัดตั้งกรอบความร่วมมืออาเซียนบวกสามเมื่อปี 2007 (พ.ศ.2550)
ผู้นำของประเทศสมาชิกได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออกฉบับที่ 2 (Second Joint Statement on East Asia Cooperation: Building on the Foundations of ASEAN Plus Three Cooperation) พร้อมกับเห็นชอบให้มีการจัดทำแผนดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน (ASEAN+3 Cooperation Work Plan (2007 – 2017)) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระยะยาว และผลักดันให้เกิดชุมชนอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี 2015 (พ.ศ.2558) โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมความร่วมมือใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลก และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านสังคม วัฒนธรรม และการพัฒนา และด้านการส่งเสริมกรอบการดำเนินงานในด้านต่างๆและกลไกต่างๆ ในการติดตามผล โดยแผนความร่วมมือดังกล่าวทั้ง 5 ด้านนี้ ถือเป็นการประสานความร่วมมือและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนกับประเทศในเอเชียตะวันออกมากยิ่งขึ้น
อาเซียน +3 ประกอบด้วยสมาชิก 13 ชาติ คือ 10 ชาติสมาชิกอาเซียน รวมกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งมีประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 2,000 ล้านคน หรือหนึ่งในสามของประชากรโลก แต่เมื่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เข้าด้วยกัน จะทำให้มีมูลค่าถึง 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 16 ของจีดีพีโลก ขณะที่ยอดเงินสำรองต่างประเทศรวมกันจะสูงถึง 3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐซึ่งมากกว่ากึ่งหนึ่งของเงินสำรองต่างประเทศของโลก โดยตัวเลขทางเศรษฐกิจเหล่านี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอาเซียน+3 จะมีบทบาทเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
จากความร่วมมือดังกล่าวประเทศสมาชิกอาเซียน จะได้รับผลประโยชน์จากความร่วมมือในกรอบของเขตการค้าเสรีอาเซียนบวก+3 (FTA Asian +3) มูลค่าประมาณ 62,186 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และประเทศไทยในฐานะสมาชิกอาเซียนจะได้รับประโยชน์มากที่สุด คิดเป็นมูลค่าประมาณ 7,943 ล้านดอลลาร์ ขณะที่อินโดนีเซียมีแนวโน้มจะได้ประโยชน์ใกล้เคียงกัน คือประมาณ 7,884 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเวียดนามคาดว่าจะได้รับประโยชน์มูลค่าประมาณ 5,293 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับการประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน + 3 สมัยพิเศษ (Special ASEAN+3 Financial Ministers Meeting) ที่ จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมา ได้มีการสนับสนุนการใช้เวทีหารือด้านนโยบายและกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ ของภูมิภาคอาเซียน อาทิ ข้อริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI) พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐมนตรีคลังสนับสนุนให้มีกระบวนการเฝ้าระวัง โดยร่วมมือกับสถาบันการเงินในภูมิภาคและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ รวมทั้งข้อริเริ่มเชียงใหม่ ที่รัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 จำเป็นจะต้องเร่งรัดกระบวนการไป สู่ระดับพหุภาคี เพื่อเป็นกันชนรองรับเศรษฐกิจอ่อนแอในอนาคต
ผู้นำของประเทศสมาชิกได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออกฉบับที่ 2 (Second Joint Statement on East Asia Cooperation: Building on the Foundations of ASEAN Plus Three Cooperation) พร้อมกับเห็นชอบให้มีการจัดทำแผนดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน (ASEAN+3 Cooperation Work Plan (2007 – 2017)) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระยะยาว และผลักดันให้เกิดชุมชนอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี 2015 (พ.ศ.2558) โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมความร่วมมือใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลก และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านสังคม วัฒนธรรม และการพัฒนา และด้านการส่งเสริมกรอบการดำเนินงานในด้านต่างๆและกลไกต่างๆ ในการติดตามผล โดยแผนความร่วมมือดังกล่าวทั้ง 5 ด้านนี้ ถือเป็นการประสานความร่วมมือและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนกับประเทศในเอเชียตะวันออกมากยิ่งขึ้น
อาเซียน +3 ประกอบด้วยสมาชิก 13 ชาติ คือ 10 ชาติสมาชิกอาเซียน รวมกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งมีประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 2,000 ล้านคน หรือหนึ่งในสามของประชากรโลก แต่เมื่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เข้าด้วยกัน จะทำให้มีมูลค่าถึง 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 16 ของจีดีพีโลก ขณะที่ยอดเงินสำรองต่างประเทศรวมกันจะสูงถึง 3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐซึ่งมากกว่ากึ่งหนึ่งของเงินสำรองต่างประเทศของโลก โดยตัวเลขทางเศรษฐกิจเหล่านี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอาเซียน+3 จะมีบทบาทเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
จากความร่วมมือดังกล่าวประเทศสมาชิกอาเซียน จะได้รับผลประโยชน์จากความร่วมมือในกรอบของเขตการค้าเสรีอาเซียนบวก+3 (FTA Asian +3) มูลค่าประมาณ 62,186 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และประเทศไทยในฐานะสมาชิกอาเซียนจะได้รับประโยชน์มากที่สุด คิดเป็นมูลค่าประมาณ 7,943 ล้านดอลลาร์ ขณะที่อินโดนีเซียมีแนวโน้มจะได้ประโยชน์ใกล้เคียงกัน คือประมาณ 7,884 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเวียดนามคาดว่าจะได้รับประโยชน์มูลค่าประมาณ 5,293 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับการประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน + 3 สมัยพิเศษ (Special ASEAN+3 Financial Ministers Meeting) ที่ จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมา ได้มีการสนับสนุนการใช้เวทีหารือด้านนโยบายและกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ ของภูมิภาคอาเซียน อาทิ ข้อริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI) พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐมนตรีคลังสนับสนุนให้มีกระบวนการเฝ้าระวัง โดยร่วมมือกับสถาบันการเงินในภูมิภาคและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ รวมทั้งข้อริเริ่มเชียงใหม่ ที่รัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 จำเป็นจะต้องเร่งรัดกระบวนการไป สู่ระดับพหุภาคี เพื่อเป็นกันชนรองรับเศรษฐกิจอ่อนแอในอนาคต
ทั้งนี้ที่ประชุมมีข้อสรุปว่า จะขยายผลความตกลงริเริ่มเชียงใหม่ในการจัดตั้งกองทุนสำรองระหว่างประเทศร่วมกันในภูมิภาคอาเซียน (Currency Swap) จากเดิม 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 120,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4.2 ล้านล้านบาท เบื้องต้นคาดว่า 3 ประเทศนอกกลุ่มอาเซียน คือจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น จะลงเงินสำรองร้อยละ 80 ของวงเงิน รวม หรือ 9.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และกลุ่มประเทศอาเซียนอีกร้อยละ 20 หรือ 2.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งกองทุนดังกล่าวจะมีรูปแบบคล้ายกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund :IMF) แต่ก็ไม่ใช่คู่แข่งของ IMF แต่จะเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งของเอเชียที่จะมีกองทุนระหว่างประเทศเป็นของตนเอง โดยประเทศจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ลงเงินรวมกันประมาณร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 20 ที่เหลือกลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ จะลงทุนร่วมกัน ขณะที่ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย จะต้องใส่เงินลงทุนมากกว่าอีก 5 ประเทศ คือ บรูไน พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา เนื่องจากมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่า โดยคาดว่าจะสามารถเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณารัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 วาระปกติที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในเดือนพฤษภาคม 2552
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น